เกี่ยวกับสำนักงาน / | 31 ธันวาคม 2565 / | จำนวนผู้ชม : 557 ครั้ง |
พระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ.๒๕๔๐
..................................................
ภูมิพลอดุลยเดช ป. ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๔๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภาดังต่อไป นี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียก ว่า "พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เป็นต้น ไป
มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติ นี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ "ข้อมูลข่าวสาร " หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเ อกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพ วาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึก ไว้ปรากฏได้ "ข้อมูลข่าวสารของราชการ " หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของ รัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเอกชน "หน่วยงานของรัฐ " หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษา คดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง "เจ้าหน้าที่ของรัฐ " หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของ รัฐ "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล " หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลเช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีหมายเลข รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูป ถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้ว "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ ราชการ
"คนต่างด้าว " หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไป นี้
( ๑ ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าว ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ ถือ
( ๒ ) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคน ต่างด้าว
( ๓ ) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคน ต่างด้าว
( ๔ ) นิติบุคคลตาม ( ๑ ) ( ๒ ) ( ๓ ) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิก หรือมีทุนในนิติบุคคลอื่น ให้ถือว่า ผู้จัดการหรือกรรมการ หรือสมาชิกหรือเจ้าของทุนดังกล่าวเป็นคน ต่างด้าว
มาตรา ๕ ให้ นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ กระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับ ได้
มาตรา ๖ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้น ในสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงาน วิชาการ และธุรการให้แก่คณะกรรมการและคณะกรรมการ วินิจฉัย การเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามพระราช บัญญัตินี้
หมวด ๑
การเปิดเผย ข้อมูล
..................................................
มาตรา ๗ หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ใน ราชกิจจา นุเบกษา
( ๑ ) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนิน งาน
( ๒ ) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนิน งาน
( ๓ ) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของ รัฐ
( ๔ ) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยว ข้อง
( ๕ ) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์ เพื่อให้เผยแพร่ตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา โดย อ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่ง แล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้ มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนี่งไว้เผยแพร่เพื่อขายหรืจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็น สมควร
มาตรา ๘ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา ๗ ( ๔ ) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็น เวลาพอ สมควร
มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไป นี้ ไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กำหนด
( ๑ ) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดัง กล่าว
( ๒ ) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๗ ( ๔ ) ( ๓ ) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนิน การ
( ๔ ) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบ ถึงสิทธิหน้าที่ของ เอกชน
( ๕ ) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา ๗ วรรค สอง
( ๖ ) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริ การ สาธารณะ
( ๗ ) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมา ใช้ในการพิจารณาไว้ด้วยข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามวรรค หนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ อยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดถอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร นั้น บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วย เหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎ กระทรวง
มาตรา ๑๐ บทบัญญัติมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ไม่กระทบถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่ มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีการเผยแพร่หรือเปิดเผย ด้วยวิธีการอย่าง อื่น
มาตรา๑๑ นอก จากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว หรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วหรือที่มี การจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา ๒๖ แล้ว ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของ ราชการ และคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสานั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลา อันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรข้อมูลข่าวสาร ของราชการใดมีสภาพที่อาจบุบสลายง่ายหน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดทำ สำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสาร นั้นก็ได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วใน สภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนกรวบรวมหรือจัดให้มีขึ้น ใหม่ เว้นแต่เป็นการแปลสภาพเป็นเอกสาร จากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียงระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการ ค้า และ เป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่ จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสาร นั้นให้ก็ได้บทบัญญัติวรรคสามไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของ รัฐ ที่จะจัดให้มี ข้อมูลข่าวสารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้ร้องขอ หากเป็น การสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้วให้นำความ ในมาตรา ๙ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้ โดยอนุโลม
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๑ แม้ว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอจะอยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานส่วนกลางหรือ ส่วนสาขาของหน่วยงานแห่งนั้นหรือที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ แห่งอื่นก็ตาม ให้หน่วยงานของรัฐที่รับ คำขอให้คำแนะนำเพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร นั้นโดยไม่ชัก ช้า ถ้าหน่วยงานของรัฐ ผู้รับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มี คำขอเป็นข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น และได้ระบุห้ามการเปิดเผยไว้ตามระเบียบที่กำหนดตามมาตรา ๑๖ ให้ส่งคำขอนั้นให้ หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อ ไป
มาตรา ๑๓ ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา ๙ หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา ๑๑ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาตามมาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการต้องพิจารณาให้ แล้วเสร็จภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออก ไปได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกสิบ วัน
หมวด ๒
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิด เผย
..................................................
มาตรา ๑๔ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะเปิดเผยมิ ได้
มาตรา ๑๕ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยกก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบ กัน
( ๑ ) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของ ประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงใน ทางเศรษฐกิจหรือการคลังของ ประเทศ
( ๒ ) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อม ประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ ตาม
( ๓ ) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดัง กล่าว
( ๔ ) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชิวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคล ใด
( ๕ ) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำ สิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
( ๖ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้ อื่น
( ๗ ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราช กฤษฎีกา
คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะ เหตุใดและให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลยพินิจ โดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชาแต่ผู้ขออาจ อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ นี้
มาตรา ๑๖ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อ บุคคลใดได้หรือไม่ภายใต้เงื่อนไขเช่นใด และสมควรมีวิธีการรักษามิให้รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครอง ข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ว่าด้วยการรักษาความลับของทาง ราชการ
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้น เสนอคำคัดค้านภายใยเวลาที่กำหนดแต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำ คัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ที่ได้รับแจ้งตาม วรรคหนึ่ง หรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงผลประโยชน์ ได้เสียของตน มีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้า หน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่มี การคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิด ชอบ ต้องพิจารณาคำ คัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นกำหนดเวลา อุทธรณ์ ตาม มาตรา ๑๘ หรือจนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยการปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัยให้เปิด เผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้ เสีย ตามมาตรา ๑๗ ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นโดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อ คณะ กรรมการ
มาตรา ๑๙ การพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่มีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลนั้นไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือศาลก็ตามจะต้องดำเนินกระบวน การพิจารณา โดยมิให้ข้อมูลข่าวสารนั้น เปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดที่ไม่จำเป็นแก่การพิจารณาและในกรณีที่จำเป็นจะ พิจารณาลับหลังคู่กรณีหรือคู่ความฝ่ายใดก็ ได้
มาตรา ๒๐ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดแม้จะเข้าข่ายต้องมีความรับผิดตามกฎหมาย ใด ให้ถือว่าเจ้า หน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิดหากเป็นการกระทำโดยสุจริตในกรณีดังต่อไป นี้
( ๑ ) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบตามมาตรา ๑๖
( ๒ ) ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ ถ้าเจ้าหน้าที่ ของรัฐในระดับตามที่ กำหนด ในกฎกระทรวงมี คำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์อันสำคัญ ยิ่งกว่า ที่เกี่ยว กับประโยชน์สาธารณะ หรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ ในการนี้จะมีการกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นตามความ เหมาะสมก็ได้การเปิดเผบข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของ รัฐพ้นจากความรับผิดชอบตามกฎหมายหากจะพึงมีในกรณีดัง กล่าว
หมวด ๓
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
..................................................
มาตรา ๒๑ เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้ "บุคคล" หมายความ ว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่ อยู่ในประเทศ ไทย
มาตรา ๒๒ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคง และหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง อาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่มิให้นำบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ( ๓ ) ของมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบ คุมดูแลของหน่วยงานดังกล่าวก็ได้ หน่วย งานของรัฐแห่งอื่นที่จะกำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งนั้น ต้องเป็นหน่วยงานของ รัฐ ซึ่งการเปิดเผยประเภทข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ( ๓ ) จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานดัง กล่าว
มาตรา ๒๓ หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อ ไป นี้
( ๑ ) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำ เป็น
( ๒ ) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคล นั้น
( ๓ ) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยง กับสิ่งดังต่อไป นี้
( ก ) ประเภทของบุคคลทีมีการเก็บข้อมูล ไว้
( ข ) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคล
( ค ) ลักษณะการใช้ข้อมูลตาม ปกติ
( ง ) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของ ข้อมูล
( จ ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูล
( ฉ ) แหล่งที่มาของ ข้อมูล
( ๔ ) ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่ เสมอ
( ๕) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นภัย ร้ายต่อเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อ มูลถีงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัคร ใจ หรือเป็นกรณีมีกฎหมายบังคับหน่วยงาน ของรัฐ ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไป ยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลตาม ปกติ
มาตรา ๒๔ หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคล ที่อยู่ในความ ควบคุมดูแลของหน่วยของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่ง อื่น หรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไป นี้
( ๑ ) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐแห่ง นั้น
( ๒ ) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคล นั้น
( ๓ ) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงาน ด้านการวาง แผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้อง รักษา ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้ อื่น
( ๔ ) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคล ใด
( ๖ ) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
( ๗ ) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของ บุคคล
( ๘ ) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ ขอข้อเท็จจริงดัง กล่าว
( ๙ ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
การ เปิดเผย ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ( ๓ ) ( ๔ ) ( ๕ ) ( ๖ ) ( ๗ ) ( ๘ ) และ ( ๙ ) ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผย กำกับไว้กับข้อมูลข่าวสาร นั้น ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง
มาตรา ๒๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ บุคคลย่อมจะมีสิทธิที่จะได้รู้ถึง ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้ กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วน ที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และนำมาตรา ๙ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม การเปิดเผยรายงาน การแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควร เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ ได้ ถ้าบุคคลใดเห็น ว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วน ใด ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสาร ส่วนนั้นได้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาคำขอดัง กล่าว และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบโดยไม่ชักช้าในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรง ตาม ที่มีคำขอให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สาร ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารโดย ยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการและไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้ หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอ ของตนแนบ ไว้กับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องได้ ให้บุคคลที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้
หมวด ๔
เอกสารประวัติศาสตร์
..................................................
มาตรา ๒๖ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบ กำหนดตามวรรคสองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้น คว้า กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของ ราชการตามวรรคหนึ่งให้แยกประเภทดัง นี้
( ๑ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๔ เมื่อครบเจ็ดสิบห้า ปี
( ๒ ) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๕ เมื่อครบยี่สิบปีกำหนดเวลาตามวรรคสอง อาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไป นี้
(๑ ) หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อ ประโยชน์ ในการใช้สอยโดยต้องจัดเก็บและ จัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ตามที่จะ ตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรม ศิลปากร
( ๒ ) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะ ราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการขยายเวลาไม่ เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวงบทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้ บังคับ กับข้อมูล ข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บ รักษา
หมวด ๕
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
...........................................................
มาตรา ๒๗ ให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วยรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเลขาธิการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ จากภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกเก้าคนเป็น กรรมการให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้า ราชการ ของสำนักงานปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วย เลขานุการ
มาตรา ๒๘ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไป นี้
( ๑ ) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและ หน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ นี้
( ๒ ) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ได้รับคำ ขอ
( ๓ ) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือระเบียบของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติ นี้
( ๔ ) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๑๓
( ๕ ) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็น ครั้งคราว ตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่ง ครั้ง
( ๖ ) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ นี้
( ๗ ) ดำเนินการเรื่องอื่น ตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบ หมาย
มาตรา ๒๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๒๗ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ ได้
มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๒๗ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
( ๑ ) ตาย
( ๒ ) ลา ออก
( ๓ ) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความ สามารถ
( ๔ ) เป็นบุคคลล้ม ละลาย
( ๕ ) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความ สามารถ
( ๖ ) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดระหุ โทษ
มาตรา ๓๑ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประ ขุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้าง มาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลง คะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่ม ขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ ขาด
มาตรา ๓๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา ได้
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำ ขอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๒๕ ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าว สารของราชการที่เกี่ยวข้องได้และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบหน่วย งานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยินยอมให้คณะ กรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย เข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ ตาม
มาตรา ๓๔ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่าง หนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๖
คณะ กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สาร
......................................................................
มาตรา ๓๕ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ตามข้อเสนอของคณะ กรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าว สาร ตามมาตรา ๑๔ หรือ มาตรา ๑๕ หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา ๑๗ และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการ วินิจฉัย การเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งให้แต่งตั้ง ตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้ กฎหมาย
มาตรา ๓๖ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่ง ประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน และให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ ช่วยเลขานุการ ในกรณีพิจารณาข้อมูลข่าว สารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สารซึ่งมาจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นจะเข้าร่วมพิจารณาด้วยไม่ ได้ กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร จะเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการไม่ ได้
มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉัย การ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขาภาย ในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ได้ รับคำอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ เป็นที่สุด และในการมีคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกตเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็น สมควร
ก็ได้ ให้นำความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สาร โดยอนุโลม
มาตรา ๓๘ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา วิธีพิจารณาและวินิจฉัย และองค์คณะในการพิจารณาและวินิจฉัยให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจา นุเบกษา
มาตรา ๓๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐มาตรา๓๒ และบทกำหนดโทษที่ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวมา ใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล โดยอนุโลม
หมวด ๗
บทกำหนด โทษ
..................................................
มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตามมาตรา ๓๒ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ
มาตรา ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำหนดตามมาตรา ๒๐ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
..................................................
มาตรา ๔๒ บทบัญญัติมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับให้หน่วยงานของรัฐจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารตามวรรค หนึ่ง หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรค หนึ่งไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจะได้ กำหนด
มาตรา ๔๓ ให้ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๑๗ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๖ จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ในระบอบประชาธิปไตยการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทาง การเมืองได้ถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดเจนและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสาร ที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญ ของเอกชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติ
สถิติ
พ.ศ. ๒๕๕๐
------------------------
ภูมิพลอดุลย เดช
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศ ว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย สถิติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา
เป็นต้น ไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
สถิติหมายความว่า ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผลที่ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวม ได้
การ สำรวจหมายความว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นอยู่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่ง สถิติ
สำมะ โน หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
การ สำรวจตัวอย่าง หมายความว่า การสำรวจโดยการแจงนับจากหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ เพียงบางหน่วยที่เลือกเป็น ตัวอย่าง
หน่วย งานหมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นของ รัฐ
ผู้ อำนวยการหมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่ง ชาติ
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ นี้
มาตรา ๕ ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลัก วิชาการ
มาตรา ๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไป นี้
(๑) จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงาน ทางสถิติของรัฐ
(๒) จัดทำมาตรฐานสถิติเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
(๓) ส่งเสริมและพัฒนางานสถิติของรัฐและ เอกชน
(๔) จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง หรืออำนวยการให้มีการสำรวจด้านต่าง ๆ ของประเทศ
(๕) ประสานงานและหารือร่วมกับหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (๑)
(๖) แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และระเบียบวิธีในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการประมวลผล และการวิเคราะห์ผลสถิติ
(๗) ประสานกับหน่วยงานในการสร้างเครือ ข่ายสถิติ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลสถิติที่สำคัญและเป็นปัจจุบันของ ประเทศ
(๘) ให้บริการสถิติแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป
(๙) เผยแพร่สถิติและจัดให้มีการศึกษาอบรม วิชาความรู้เกี่ยวกับสถิติ
(๑๐) ร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศและ องค์การระหว่างประเทศในงานเกี่ยวกับ สถิติ
(๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๗ ในการจัดทำแผนแม่ตามมาตรา ๖ (๑) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติประสานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำให้สอดคล้องกับ นโยบายและแผนการพัฒนาประเทศและเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บท นั้น
มาตรา ๘ หน่วยงานต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดความรับผิดชอบตามมาตรา ๖(๕) และดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐาน สถิติ
หน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานคณะรัฐมนตรี เพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๙ เมื่อหน่วยงานจะมีการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างที่ประสงค์จะกำหนดให้ เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องให้ข้อมูล ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
กฎกระทรวงนั้นอย่างน้อยต้องมีสาระ สำคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุ ประสงค์
(๒) ระยะ เวลา
(๓) เขตท้อง ที่
(๔) บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลและวิธีการ ให้ข้อมูล
(๕) หน่วยงานที่รับผิด ชอบ
มาตรา ๑๐ เมื่อได้มีกฎกระทรวงตามมาตรา ๙ แล้ว ให้ผู้อำนวยการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการในการจัดทำสำมะโนหรือ การสำรวจตัวอย่างในเรื่องดังต่อไป นี้
(๑) วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูล
(๒) คำถามที่บุคคลจะต้องให้ข้อมูลหรือราย ละเอียดของแบบสอบถามที่บุคคลจะต้องกรอกข้อมูลและวิธีการกรอกข้อมูลในแบบสอบ ถาม
(๓) ระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออก สอบถามหรือส่งแบบสอบถาม
(๔) ระยะเวลาที่บุคคลซึ่งต้องกรอกแบบสอบ ถามจะต้องส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้า หน้าที่
(๕) ข้อมูลอื่นที่ประชาชนสมควร ทราบ
มาตรา ๑๑ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว บุคคลซึ่งจะต้องให้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙(๔) มีหน้าที่ให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถามตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ (๒) ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
มาตรา ๑๒ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๑๐ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือที่ทำการของบุคคลซึ่งจะต้องให้ ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาอื่นใดที่บุคคลนั้นได้แจ้งให้ทราบ เพื่อสอบถามข้อมูล หรือดำเนินการกรอกแบบสอบถาม หรือเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในการนี้บุคคลดังกล่าวต้องอำนวยความสะดวกแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ควร
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม แบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่พบบุคคลผู้ซึ่งจะให้ข้อมูลหรือกรอกแบบสอบถาม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
มาตรา ๑๔ ในหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่สำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อ ประโยชน์ในการจัดสร้างเครือข่ายสถิติและพัฒนาฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็น ปัจจุบันของประเทศ
ในกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจำเป็นต้องใช้ ข้อมูลจากการสำรวจ หรือข้อมูลจากบันทึกทะเบียน รายงาน หรือเอกสารอื่นใดที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานใด เพื่อการจัดทำสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานสถิติแห่งชาติภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานสถิติแห่ง ชาติ
ข้อมูลที่หน่วยงานต้องจัดส่งให้ตามวรรค หนึ่ง หรือวรรคสองต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยว่าเป็น ข้อมูลของบุคคลใด เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อ ประชาชนหรือประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้อยู่ แล้ว
มาตรา ๑๕ บรรดาข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะรายที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือผู้ที่มีหน้าที่เก็บ รักษา เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่บุคคลใดซึ่งไม่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
(๑) เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีที่ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ นี้
(๒) เป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการ จัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย ทั้งนี้เท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และต้องไม่ระบุหรือเปิดเผยถึงเจ้าของข้อมูล
มาตรา ๑๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานหรือสำนักงานสถิติแห่งชาติต้องไม่นำบรรดา ข้อมูลหรือเฉพาะรายที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้หรือกรอกแบบสอบถามไปใช้ใน กิจการอื่นนอกเหนือจาการจัดทำสถิติ วิเคราะห์หรือวิจัย
มาตรา ๑๗ บรรดาข้อมูลที่อาจเปิดเผยได้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจให้บริการข้อมูลนั้นต่อบุคคลทั่วไปได้ โดยอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นในการให้บริการข้อมูลนั้น ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ กำหนด
มาตรา ๑๘ ผู้ใดไม่ให้ข้อมูล หรือไม่กรอกแบบสอบถามตามวิธีการที่กำหนดในประเทศตามมาตรา ๑๐ หรือไม่ส่งคืนแบบสอบถามที่ได้กรอกรายการแล้วแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนดในประกาศตามมาตรา ๑๐ (๔) หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพัน บาท
มาตรา ๑๙ ผู้ใดซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลตามมาตรา ๑๑ แต่จงใจให้ข้อมูลเป็นเท็จต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๑ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ และมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราช บัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติ นี้
มาตรา ๒๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ นี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราช โองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ใช้บังคับมานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอันมีผลทำให้การ ดำเนินการของสำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐไม่ มีความชัดเจน รวมทั้งหลักเกณฑ์แลวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติไม่ มีความคล่องตัวเพราะขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินการใช้ระยะเวลานาน ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับข้อมูลทางสถิติที่จัดทำขึ้นนั้นมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐด้านต่าง ๆ ซึ่งควรจะมีการกำหนดวิธีการดำเนินการด้านสถิติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของสถิติ นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นหลักประกันมิให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้ซึ่งต้องให้ข้อมูลจึงต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยต้องถือเป็นความลับอย่างเคร่งครัดและกำหนดโทษสำหรับผู้ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้
(คัดจากราชกิจจา นุเบกษาเล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๓ ก วันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ หน้า ๒๒)
สำนักงานสถิติจังหวัดอ่างทอง
ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังใหม่) ชั้น 3
ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง 14000
โทร. : 0 3561 1254
เครือข่ายสื่อสารกระทรวงมหาดไทย : 11748, 11749
Email :
สารบรรณกลาง
saraban@nso.mail.go.th
0 2141 7298
แจ้งปัญหาเว็บไซต์
misdg@nso.mail.go.th
0 2141 7376
ทั้งหมด 58,371
2
©สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์โดย สำนักงานสถิติจังหวัดอ่างทอง นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล